วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชา ภาษาไทย

ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการคิด


 ประเภทการคิดที่จำเป็น  การสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการคิด  วัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อให้นักเรียนรู้ภาษาไทยอย่างมีความหมาย  และรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาไทยไปพร้อมๆกับ  การพัฒนาทักษะการคิด  การคิดที่ควรสอนนักเรียนในช่วงวัยนี้  ได้แก่
                    1.  การคิดเชิงมโนภาพ  นักเรียนสามารถฝึกทักษะการใช้มโนภาพ  หรือจินตนาการ  เพื่อประโยชน์ในการคิดสร้างสรรค์  แก้ปัญหา  พร้อมๆกับการเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อมๆกัน  โดยใช้กิจกรรมต่างๆ  เช่น
  -  นำรูปภาพภาพหนึ่งมาให้ดู แล้วลองจินตนาการว่า "ถ้านักเรียนอยู่ในภาพนั้นด้วยจะเป็นอย่างไร" แล้วให้นักเรียนออกมา เล่าเรื่อง ตามจินตนาการของตน  เช่นเมื่อดูภาพสวนสนุก  นักเรียนอาจบรรยายถึง  ความสนุกในการเล่นเครื่องเล่นต่างๆได้ไปเที่ยวกับใคร ทำอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งก็จะได้ฝึกฝนในเรื่องของการใช้ภาษาในการพูด  การลำดับใจความสำคัญ  การใช้ศัพท์และรูปประโยคต่างๆด้วย
   -  เล่นเกม "ถ้า....หายไป  อะไรจะเกิดขึ้น? "  (อาจเป็นพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่ง หรือสระตัวใดตัวหนึ่ง) ซึ่งเมื่อ....หายไปจะทำให้ความหมายของคำนั้นเปลี่ยนไปอาจจะให้เด็กออกมาทำท่าทาง หรืออธิบายตามมโนภาพของตนเอง อันจะช่วยให้นักเรียนรู้ในการเขียนสะกดคำให้ถูกต้อง เช่นประโยค  "แม่ฉันชอบกินข่าอ่อนๆ" ถ้า "ไม้เอก" หายไปเป็น "แม่ฉันชอบกินขาอ่อนๆ" อะไรจะเกิดขึ้น? คำว่า  "หมางเมิน" ถ้า "ง" หายไปอะไรจะเกิดขึ้น ?
                2.  การคิดเชิงวิเคราะห์  นักเรียนสามารถจำแนกแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งต่างๆได้  โดยกิจกรรม  เช่น - ให้นักเรียนอ่านนิทานสั้นๆ แล้วให้ตอบคำถาม  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อใด  อย่างไร  เพราะเหตุใด
   -  เลือกสิ่งของที่เป็นธรรมดาๆ  มาเป็นเรื่อง  เช่น  หมวก  ร่ม  รองเท้า  กระเป๋าหนังสือ  แล้วให้ลองเขียนรายการเรื่องราวของสิ่งที่ดูธรรมดาๆนั้น  ครูอาจช่วยโดยตั้งคำถาม  เช่น  ชนิดของหมวก  หรือร่ม  หรือรองเท้า  ใครเป็นผู้ใช้  ทำไมจึงใช้  และสิ่งของนั้นทำจากอะไร
   - ตัดข่าวหรือเหตุการณ์สั้นๆ  มาให้อ่าน  แล้วให้นักเรียนพูดคุยหรือเขียนรายละเอียดของเรื่องนั้นๆ  แล้วเขียนคำที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านนั้นมากที่สุด  ตัวอย่างคำ  เช่น  ตื่นเต้น  สงสัย  ตกใจ  เศร้าใจ  เห็นใจ  ประทับใจ  อยากลอง  คับแค้นใจ ฯลฯ
                 3.  การคิดสร้างสรรค์    ให้นักเรียนมีจิตนาการอย่างอิสระในการใช้ภาษา  มีจินตนาการในการแสดงออก  มีจินตนาการในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  ครูต้องไม่เคร่งครัดเรื่องความผิดความถูกมากกว่า  การให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างอิสระ  ตามความคิดของตน  โดยจัดกิจกรรม เช่น
          - การเขียนนิทานสั้นๆ และการวาดภาพประกอบ
         - การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ให้ค้นหาคำที่ครูกำหนด  เช่น
           คำที่ลงท้ายด้วย....ในหนังสือหน้าใดหน้าหนึ่งออกมาให้ได้มากที่สุด  เมื่อได้แล้วให้ลองแต่งเรื่องราวจากคำเหล่านั้น         - ให้นักเรียนฝึกอ่านหนังสือจากกระจก หรืออ่านแข่งกันโดยมองจากด้านบน ซึ่งเป็นการฝึกให้ทำในสิ่งที่นอกกรอบ แปลกใหม่และไม่เคยทำมาอาก่อน นักเรียนจะสนใจและเพลิดเพลินในการเรียนรู้
         - เขียนคำ ธรรมดาๆ 1 คำบนกระดานดำ ให้นักเรียนคิดคำอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคำบนกระดานนั้นออกมาให้ได้มากที่สุด ในเวลา 2 นาที เช่น คำว่า น้ำ บ้าน ถนน  มีคำอะไรบ้างที่เกี่ยงโยงถึงคำนั้นๆ ได้ เป็นต้น
                4.  การคิดเชิงเปรียบเทียบ นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งต่างๆได้  โดยกิจกรรม  เช่น
         - ค้นหาความแตกต่างระหว่างชุดคำ 2 ชุด  ที่ดูคล้ายๆ  เช่น
           ชุดคำที่สะกดด้วยแม่  กก  ซึ่งแต่ละชุดมีตัวสะกดแม่อื่นๆแทรกมาด้วย  แล้วให้นักเรียนดึงคำที่แตกต่างออกมา
         - ให้นักเรียนคิดเปรียบเทียบเรื่องราว เหตุการณ์ ตัวละคร คำพูด เป็นต้น
         - นำเก้าอี้สามขาและเก้าอี้สี่ขามาตั้งหน้าห้อง ให้สังเกตดู แล้วจดทุกสิ่งที่เกี่ยวกับเก้าอี้ 2 ตัวนั้น เปรียบเทียบกัน ทั้งความเหมือนและความต่าง
                5.  การคิดเชิงวิพากษ์   การคิดเชิงวิพากษ์จะเป็นประโยชน์ในการใช้วิจารณญาณ  ใคร่ครวญสิ่งที่เห็น  ประเมินได้ว่าสิ่งนั้นๆ ผิดหรือถูกอย่างไร เช่น
        - ให้คำ ข้อความ หรือประโยคสั้นๆ มาชุดหนึ่ง ซึ่งคละกันทั้งที่ผิดหือถูก ให้นักเรียนอ่าน และพิจารณาว่า ถูกหรือผิด ถ้าผิด ผิดเพราะอะไร และจะแก้ไขอย่างไร
        - อ่านข่าว หรือการ์ตูนสั้นๆให้นักเรียนฟัง และแบ่งกลุ่มให้แสดงความคิดเห็น
                 6.  การคิดเชิงมโนทัศน์
          นักเรียนสามารถคิดรวบยอดได้  พร้อมๆกับมีความรู้ทางภาษาไทยด้วย  โดยอาจใช้กิจกรรม เช่น
         - ให้ภาพภาพหนึ่งให้นักเรียนตั้งชื่อภาพนั้นแล้วเขียนบรรยายหรือแต่งเป็นเรื่องราวอย่างสั้นๆ         - ให้อ่านข้อความสั้นๆแล้วให้บอกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร หรือหาใจความสำคัญของเรื่อง
         - ฝึกให้จัดหมวดหมู่ โดยให้ชุดคำที่มีตัวสะกดในมาตราต่างๆมาชุดหนึ่ง แล้วให้นักเรียนแยกคำเป็นหมวดหมู่ตามตัวสะกดแต่ละมาตรา  ฯลฯ
                  7.  การคิดเชิงสังเคราะห์  การฝึกคิดสังเคราะห์ในเชิงภาษา  อาจนำมาใช้ในเรื่องของการรวมคำ  และการสะกดคำ  เช่น
          - ให้อักษรหรือพยัญชนะและสระที่กระจัดกระจายมาชุดหนึ่ง แล้วให้นักเรียนสร้างคำใหม่ จากตัวอักษรที่กระจัดกระจายเหล่านั้น
          -จัดเรียงลำดับคำ หรือภาพที่วางสลับกันเป็นปริศนาให้เป็นเรื่องราวต่อเนื่อง         นักเรียนในวัยนี้ควรเรียนรู้ภาษาไทยและพัฒนาทักษะการคิดไปพร้อมๆด้วยกันอย่างสนุกสนานตัวอย่างการคิดและกิจกรรมเหล่านี้ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดหรือจัดทำแบบฝึกเพิ่มเติมได้       นอกจากพัฒนานักเรียนด้านการคิดแล้ว  สิ่งที่ควรทำตามไปด้วยกัน  คือการฝึกทักษะอื่นๆ  เช่น      การพัฒนาการทำงานกลุ่ม  การพัฒนาระเบียบวินัย  การทำกิจกรรมที่ต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ  และการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม  ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทั้ง  ด้านร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์  และสังคมไปพร้อมๆกัน

วิชา ฟิสิกส์

                                        ไฟฟ้าสถิต (Static electricity)

          ไฟฟ้าสถิต (Static electricity) เป็นปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากัน ปกติจะแสดงในรูปการดึงดูด, การผลักกัน และเกิดประกายไฟ
การเกิดไฟฟ้าสถิต
          การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน หรือเกิดแรงผลักกันเมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกัน เราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุ 2 ชิ้นมาขัดสีกัน พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุจะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ฉนวน ตัวอย่างเช่น ยาง, พลาสติก และแก้ว สำหรับวัสดุประเภทที่นำไฟฟ้านั้นโอกาสเกิดปรากฏการณ์ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุไม่เท่ากันนั้นยากแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น กรณีที่ผิวโลหะถูกกระแทกด้วยของแข็งหรือของเหลวที่ไม่เป็นตัวนำ ประจุที่เกิดการเคลื่อนย้ายระหว่างการสัมผัสจะถูกเก็บบนผิวของวัสดุทั้ง 2 ชิ้น

          ไฟฟ้าสถิตเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่คุ้นเคยสำหรับประเทศที่มีอากาศหนาว ในฤดูหนาวสำหรับประเทศเหล่านี้ความชื้นในอากาศจะต่ำมาก การเกิดไฟฟ้าสถิตบนผิวหนังจะเกิดขึ้นง่ายมาก ดังนั้นเมื่อเกิดการสัมผัสกับวัสดุประเภทตัวนำจะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไปยังตัวนำอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอาการสะดุ้งได้ และนอกจากนั้นยังสามารถทำความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
วิชาไฟฟ้าสถิต
          วิชาไฟฟ้าสถิต คือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์อันเกิดจากประจุไฟฟ้าที่อยู่นิ่ง
          แรงระหว่างประจุไฟฟ้า เป็นแรงมูลฐานที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่นเดียวกับแรงดึงดูดระหว่างมวล แรงแม่เหล็ก และ แรงนิวเคลียร์
          กฎว่าด้วยแรงระหว่างประจุไฟฟ้า  ประจุชนิดเดียวกัน ผลักกัน ประจุต่างชนิด ดึงดูดกัน แรงผลักหรือแรงดูดระหว่างประจุ เป็นแรงคู่กริยา      
      
 
 
อนุภาค
สัญลักษณ์
ประจุ
มวล ( kg )
โปรตอน
อิเล็กตรอน
นิวตรอน
p
e-
n
+e
-e
0
1.67252 x 10-27
9.1091 x 10-31
1.67482 x 10-27
ตาราง แสดงสมบัติของ โปรตอน อิเล็กตรอน และนิวตรอน
          ฉนวนไฟฟ้า   คือสารที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนผ่านได้เพียงเล็กน้อย
          สารกึ่งตัวนำ   คือสารที่มีสมบัติทางไฟฟ้าอยู่ในระหว่างตัวนำไฟฟ้ากับฉนวนไฟฟ้า
          การทำให้วัตถุมีประจุ  ปกติวัตถุทั้งหลายมีโปรตอนและอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบในจำนวนที่เท่าๆ กัน  ดังนั้นจำนวนประจุบวก ประจุลบ ในวัตถุจึงมีอยู่เท่ากัน เรียกวัตถุอยู่ในสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า
          กรณีที่วัตถุได้รับพลังงาน ( ไฟฟ้า เคมี ความร้อน แสง และอื่นๆ ) จะทำให้อิเล็กตรอน หรือ อิออนเคลื่อนที่ ประจุลบบนวัตถุนั้นอาจมีมากกว่า หรือน้อยกว่าประจุบวก ถ้ามีมากกว่าวัตถุดังกล่าวมีประจุลบอิสระ ถ้ามีน้อยกว่าวัตถุดังกล่าวมีประจุบวกอิสระ
          การกระจายของประจุ
          บนฉนวน ประจุปรากฎเฉพาะบางส่วน เพราะประจุเคลื่อนที่ผ่านฉนวนได้ยาก
          บนตัวนำ ประจุกระจายแต่เฉพาะผิวนอกของตัวนำ * ความหนาแน่นประจุต่อพื้นที่บริเวณปลายแหลมหรือขอบ มีมากกว่าบริเวณผิวราบเรียบ ในกรณี ตัวนำทรงกลม ประจุกระจายทั่วถึงกัน   ความหนาแน่นประจุสม่ำเสมอ
 ให้  Q  =  ปริมาณประจุไฟฟ้าอิสระบนทรงกลม  หน่วยคูลอมบ์
       R  =  รัศมีทรงกลม  หน่วยเมตร
       D  =  ความหนาแน่นประจุต่อพื้นที่ผิวของตัวนำทรงกลม  หน่วยคูลอมบ์ต่อตารางเมตร
 ตัวอย่างเช่น  ตัวนำทรงกลมรัศมี  1.0  เซนติเมตร  ได้รับอิเล็กตรอน  103 อนุภาค  หากไม่มีการรั่วไหลของประจุ   ความหนาแน่นของประจุต่อพื้นที่  = 1.3x10-13 คูลอมบ์ต่อตารางเมตร







          ตัวนำไฟฟ้า    คือสารที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าถ่ายเทไป – มาได้โดยง่ายทั่วถึงกันทั้งก้อน

วิชา ภาษาอังกฤษ

                                            Tense

ภาษาอังกฤษนั้นมีรูปแบบประโยคที่เรียกว่า Tense เอาไว้แสดงเวลาในกรณีต่างๆ กัน โดยจะทำให้ส่วนของ Verb นั้นเปลี่ยนรูปแบบไป (ซึ่ง verb ที่เปลี่ยนไปตาม Tense คือ Verb แท้ของประโยค) แบ่งเป็น 3 ประเภทเวลาใหญ่ๆ คือ
ปัจจุบัน Present = V1, อดีต Past = V2, อนาคต Future = Will + V
แต่ละเวลาจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบย่อย คือ
Simple = V (รูปแบบอย่างง่าย),  Continuous = be + Ving (กำลังทำ) , Perfect = Have + V3 (เกิดก่อนอีกอัน เวลาไม่สำคัญ)
  1. Present Tense ใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในปัจจุบัน
    • Present Simple = ใช้บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เป็นจริงเสมอ = รูปแบบ คือ S + V1 (ผันตามประธาน) เช่น He watches TV everyday.
    • Present Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน = S + is/am/are + Ving [be ผสมกับ V1 ได้ is/am/are] เช่น I am doing my homework.
    • Present Perfect = ใช้บอกว่าได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยไม่ต้องระบเวลาที่แน่นอน(รู้แค่ทำไปแล้ว เวลาไม่สำคัญ) = S + has/have +V3 [เนื่องจาก V1 ผสม have ได้ has/have ] เช่น I have already seen that movie.
  2. Past Tense ใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในอดีต
    • Past Simple = ใช้บอกเหตุการณในอดีต ที่เกิดแล้วจบในอดีต มักระบุเวลาที่เจาะจงในอดีต = รูปแบบ คือ S + V2 เช่น I walked to school yesterday.
    • Past Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต (มักใช้คู่กับ Past Simple) = S +was/were + Ving [be ผสม V2 ได้ was/were] เช่น He was sleeping when I arrived.
    • Past Perfect = ได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ในอดีตอีกอันหนึ่ง (จึงมักใช้คู่กับ Past Simple Tense) = S + had +V3 [เนื่องจาก V2 ผสม Have ได้ Had ] เช่น I had already eaten when they arrived.
  3. Future Tense ใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในอนาคต
    • Future Simple = ใช้บอกเหตุการณ์ในอนาคต = รูปแบบ คือ S + will + V1 เช่น It will snow tomorrow.
    • Future Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต = S +will + be + Ving เช่น He will be sleeping when we arrive.
    • Future Perfect = ได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ในอนาคต = S + will + have +V3 เช่น I will have already eaten when you arrive.
* S = Subject ประธาน หรือ ผู้กระทำ, V =Verb คือ กิริยา หรือคำแสดงการกระทำต่างๆ
**จริงๆ มีรูป Perfect Continuous ด้วย แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้

วิชาสังคม


สงครามกับพม่าครั้งที่ 2

หลังจากพม่าเกิดความวุ่นวายภายในและทำการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของพม่าใหม่ โดยมีมังลอกพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอลองพญาได้ราชสมบัติ และต้องทำการสงครามปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งแข็งเมืองกระด้างกระเดื่องอยู่เกือบปี ก็พอดีทรงพระประชวร และสวรรคตในเวลาต่อมา มังระพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระเจ้าอลองพญา ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อ มีนิสัยชอบการสงครามเหมือนพระราชบิดา จึงให้ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพพม่าเข้ามาทางทวาย ตีหัวเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพเข้าโจมตีไทยฝ่ายเหนือ เริ่มตั้งแต่เชียงใหม่ เวียงจันทร์ แล้วรุดหน้ามาทางใต้เข้าล้อมอยุธยา เป็นทัพกระหนาบเหตุการณ์ตอนปลายรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์ไว้ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีเกี่ยวกับการเสียกรุงในครั้งนั้นว่า

"เครื่องศัสตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่จ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนเอาไปยิงก็จะเกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไม่ออกบ้าง เข็ดหยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปกติของผู้ดีชั้นนั้น"

ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ฉบับที่ 1 เป็นใจความว่า

"ครั้งพม่ายกมาตั้งค่ายอยู่ในวัดแม่นางปลื้มนั้น จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี ศูนย์ทะแกล้วทหารเสียหมด (พระเจ้าเอกทัศ) รับสั่งให้เอาปืนปะขาวกวาดวัดขึ้นไปยิงสู้รบกับที่หัวรอ ต่างคนต่างก็ตื่นตกใจเอาสำ

อุดหูกลัวเสียงปืน จะดังเอาหูแตก ว่ากล่าวกันให้ใส่ดินแต่น้อย ครั้นใส่แต่น้อยกำหนดจะยิงข้างน้ำข้างใน (หม่อนต่าง ๆ เข่น มีเรื่องเล่าถึงหม่อนเพ็ง หม่อนแมน) ก็พากันร้องวุ่นวาย เอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ก็รับสั่งให้ผ่อนดินให้น้อยลง จะยิงแล้วไม่ยิงเสีย แต่เวียนผ่อนลง ๆ ดินก็น้อยลงไปทุกที ครั้นเห็นว่าน้อยพอยิงได้แล้วก็ล่ามชนวนออกไปให้ไกลทีเดียว แต่ไกลอย่างนั้นคนยิงยังต้องเอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ครั้นยิงเข้าไปเสียงปืนก็ดังพรูดออกไป ลูกปืนก็ตกลงน้ำ หาถึงค่ายพม่าไม่ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ) รับสั่งต่อไปว่า สั่งคนรู้วิชาทัพ ก็จะเป็นไปอย่างนี้นั่นเอง"

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ไม่สามารถทำการศึกสงครามได้ และไม่สามารถทั้งในการรวมคนป้องกันพระนคร ประชาชนจึงไปอันเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ให้ลาผนวชมาช่วยรักษาพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็ไม่ยอม พม่าล้อมและระดมตีไทยอยู่ครั้นนั้นเป็นเวลานานถึง ๑ ปี ๒ เดือน ถึงวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลา ๒๐.๐๐ น. ก็เข้าเมืองได้ ได้เผาผลาญบ้านเมืองเสียยับเยิน กวาดเก็บทรัพย์สินและสมบัติและผู้คนเป็นเชลยเสียมากปราสาทราชมณเฑียรต่าง ๆ ก็ถูกไปเผาพินาศสิ้น ทองหุ้มองค์พระพุทธรูป พม่าเอาไฟเผาครอกเอาไปหมด เกี่ยวกับเรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งกล่าวว่า

"ฝ่ายเนเมียวแม่ทัพค่ายโพธิ์สามต้น จึงให้พลพม่าเข้ามาจุดเพลิงเผาปราสาทที่เพนียดนั้นเสีย แล้วให้ตั้งค่ายลงที่เพนียด และวัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์ เผาเหย้าเรือนอาวาส และพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร และเพลิงสว่างดังกลางวันแล้วเทียวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีออกจากเมืองลงเรือน้อยไปกับมหาดเล็กสองคน ไปซ่อนอยู่ในสุมทุมไม้ใกล้บ้านจิกขัน วัดสังฆาวาส มหาเล็กนั้นก็ทิ้งเสียหนีไปอื่น อดอาหารอยู่แต่เพียงพระองค์เดียวพม่าหาจับได้ยาก จับได้เพียงแต่พระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวงไปไว้ทุกๆ ค่าย.แล้วพม่าก็เอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มองค์พระพุทธรูปผืนใหญ่ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรดารามนั้น ขนเอาเนื้อทองคำไปหมดสิ้น

หลังจากนั้นพม่าค้นหาผู้คนและทรัพย์สมบัติอยู่ 10 วัน ได้ทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมากแล้วยกกองทัพกลับ ตั้งให้สุกี้เป็นแม่ทัพกุมพล 3,000 คน อยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น เพื่อค้นหาสมบัติและส่งผู้คนไปยังพม่าต่อไป ส่วนองค์พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีไปซุกซ่อนอยู่ อดอาหารมากกว่า 10 วัน สุกี้ไปพบและนำมายังค่ายโพธิ์สามต้นก็สวรรคต พร้อมกับสิ้นบุญกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ปี

พ.ศ. ๒๓๐๑ และสวรรคตในปีเดียวกับการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๑๐ สืบเนื่องมาจากถูกพม่าเผากรุงศรีอยุธยาวอดวายและพระองค์อดอาหาร

สาเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า

    1. ความเสื่อมเรื้อรังในสถาบันการเมืองและทางสังคม สืบเนื่องมาจากแย่งชิงอำนาจกัน
    2. ความเสื่อมจากการมีผู้นำที่ไม่เข้มแข็งเด็ดขาด
    3. ไพร่พลขาดความพร้อมในการรบ เพราะเว้นจากการศึกสงครามมานาน
    4. พม่าเปลี่ยนยุทธวิธี และหันมาใช้วิธีตัดกำลังของหัวเมืองต่าง ๆ
    5. เกิดไส้ศึกภายใน
ความเสียหายที่เกิดหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๒๓๑๐

เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอำนาจไทยมา 417 ปี


วิชา ชีววิทยา

                                                   ความผิดปกติที่โครโมโซมเพศ
Triple X syndrome (ทริบเปิล เอ็กซ์ ซินโดรม) พบในเพศหญิง เกิดจากมีโครโมโซม X เกินมา 1 แท่ง รวมเป็น 3 แท่ง โครโมโซมเป็นแบบ 47,XXX

อาการ ลักษณะภายนอกเป็นหญิง อวัยวะเพศเจริญไม่เต็มที่ รังไข่ฝ่อ ไม่มีประจำเดือน เป็นหมัน ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ


Double Y syndrome (ดับเบิลวายซินโดรม) พบในเพศชายเกิดจากมีโครโมโซม Y เกินมา 1 แท่งรวมเป็น 3 แท่ง โครโมโซมเป็นแบบ 47,XYY

อาการ ลักษณะ ภายนอกเป็นชาย สติปัญญาต่ำ เป็นหมัน รูปร่างสูง ไม่มีลักษณะทางกายที่ผิดปกติ แต่มักเป็นคนอารมณ์ฉุนเฉียว ใจร้อน พบมากในพวกนักโทษซึ่งมีพฤติกรรมเป็นภัยต่อสังคม


Klinefelter syndrome (ไคลน์เฟลเตอร์ ซินโดรม) พบในผู้ชาย เกิดจากมีโครโมโซม X เกินมา 1 แท่ง โครโมโซมเป็นแบบ  47,XXY
อาการ อวัยะเพศภายนอกเป็นเพศชาย แต่อัณฑะเล็ก เต้านมโตคล้ายผู้หญิง รูปร่างสูง อ้วน ปัญญาค่อนข้างอ่อน



Turner syndrome (เทอร์เนอร์ ซินโดรม) พบในเพศหญิงเกิดจากโครโมโซม X ขาดหายไป 1 แท่ง โครโมโซมเป็นแบบ 45,XO

อาการ ลักษณะอวัยวะเพศภายนอกเป็นหญิง มีรูปร่างเตี้ย คอเป็นแผง หน้าอกแบนกว้าง เต้านมเล็กและหัวนมอยู่ห่างกัน อวัยวะเพศเจริญได้ไม่เต็มที่ รังไข่และมดลูกเล็กและเป็นหมัน

วิชาเคมี

สถานะสสาร

สสาร
สาร
สารบริสุทธิ์ เป็นสารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบชนิดเดียวกันหมด มีสมบัติทั้งทางเคมี และกายภาพเหมือนกัน เช่น มีจุด
เดือดและจุดหลอมเหลวคงที่ ได้แก่ ธาตุ สารประกอบ
ธาตุ
(Matter) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่รอบๆ ตัวเรา มีขนาด ต้องการที่อยู่ มีมวล สัมผัสได้ เช่น อากาศ(Substances) คือ สิ่งหนึ่งของสสาร เช่น โต๊ะ เก้าอี้ คน ต้นไม้ อากาศ ก๊าซ O2 เป็นต้น: โลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ (ดูจากตารางธาตุ)
ธาตุเป็นอะตอม มีสัญลักษณ์เขียนเป็นทั่วๆไป คือ
ตัวอย่าง เช่น
สารประกอบ
สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่เป็นเนี้อเดียวกันตลอด อาจเป็นสารบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ก็ได้ เช่น ทอง เงิน นาก น้ำเกลือ
อากาศ เป็นต้น
สารเนื้อผสม หมายถึง สารไม่บริสุทธิ์ที่สามารถมองเห็นความแตกต่างได้ง่าย คือไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกันนั่นเอง และ
สามารถแยกออกจากกันได้ง่าย โดยการกรองด้วยกรวยกรอง หรือกรวยแยกได้
สมบัติของสสารหรือสาร แบ่งออกเป็น
X และสัญลักษณ์นิวเคลียร์ คือB, C และสัญลักษณ์นิวเคลียร์ : , , , ตามลำดับ: สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ อาจแบ่งเป็น สารประกอบไอออนิก และโคเวเลนต์2 ชนิด คือ
1.
ความหนาแน่น
สมบัติทางกายภาพ ได้แก่ สมบัติที่เกี่ยวกับสถานะ รูปร่าง กลิ่น สี รส การละลาย รวมทั้งจุดเดือด จุดหลอมเหลว
2.
การเปลี่ยนแปลงของสาร แบ่งตามสมบัติของสาร ได้แก่
สมบัติทางเคมี เป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เช่น การเผาไหม้ (การสันดาป) การสลายตัว การระเบิด
1.
ให้องค์ประกอบของสารเปลี่ยนแปลง เช่น เกลือละลายน้ำได้น้ำเกลือซึ่งยังมีความเค็มของเกลืออยู่ ทุบน้ำตาลก้อนให้
เป็นเกร็ดเล็กๆ
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้สารใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างภายนอก และไม่ทำ